Active learning และ Passive learning

ความแตกต่างของ Active learning และ Passive learning




จะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีลักษณะสำคัญในการจัดกิจกรรมที่แตกต่างไปจากการสอนแบบดั้งเดิมตามหลักการศึกษาปัจจุบันการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะอยู่ภายใต้สมมติฐานว่าผู้เรียนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน โดยผู้เรียนจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ (receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ (co-creators) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่แตกฉานลึกซึ้ง และสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้ (retention of learning) ได้นานกว่า ทั้งนี้จากข้อมูลงานวิจัยแห่งสถาบัน National Training Laboratories of Bethel ในมลรัฐเมน (Maine) สหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่าการวัดความสามารถของผู้เรียนในการจำข้อมูลภายหลังการเรียนรู้ 24 ชั่วโมง (retention rate) ขึ้นกับวิธีการเรียนรู้โดยที่ผลงานวิจัยได้นำเสนอรูปปิรามิดการเรียนรู้ (Learning pyramid)
จากปิรามิดการเรียนรู้แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ต่างกันจะทำให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต่างกัน กล่าวคือผู้เรียนที่เรียนรู้จากการบรรยายสามารถจดจำข้อมูลได้ต่ำสุดเพียง 5% เพราะการฟังบรรยายนั้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้น้อยกว่าวิธีการอ่าน การได้ฟัง ได้ยินผ่านสื่อโสตทัศนูปกรณ์ และการได้เห็นตัวอย่างจากการสาธิต ซึ่งการเรียนรู้ในกลุ่มนี้เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม (traditional passive) หรือเรียกว่าวิธี outside – in learning เป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากคนอื่นแล้วนำมาถ่ายทอดให้ผู้เรียนเป็นผู้รับมากกว่า ในทางตรงข้ามหากผู้เรียนได้มีการอภิปรายในกลุ่มย่อย การฝึกปฏิบัติ และได้ถ่ายทอดสิ่งที่ทำได้ให้ผู้อื่น เป็น              การสะท้อนออกมาด้วยการปฏิบัติ เป็นการเรียนแบบเข้าใจจากข้างในตนเองก่อนแล้วจึงถ่ายทอดให้คนอื่นได้ เรียกว่าวิธี inside – out learning ซึ่งผู้เรียนจะสามารถจดจำได้สูงสุด 90% การจดจำข้อมูลในลักษณะนี้จะเป็นความจำระยะยาว (long term memory) นับเป็นสมรรถนะการเรียนรู้ขั้นสูงสุด Edgar Dale ศาสตราจารย์ทางการศึกษามหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ ได้พัฒนารูปแบบกรวยของการเรียนรู้ (Cone of Learning) ขึ้นในปี พ.. 1946 และหลังจากนั้นก็มีการศึกษาวิจัยทั้งในวงการศึกษาและอุตสาหกรรมเพื่อค้นหากระบวนการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ จากการศึกษาพบว่ากระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มาก และนานกว่ากระบวนการเรียนรู้เชิงรับ (passive learning) เพราะกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำโดยสามารถเก็บและจดจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน อาจารย์ผู้สอน สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (long term memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ยังคงอยู่ในปริมาณที่มากกว่าระยะยาว

          กล่าวโดยสรุป การเรียนรู้เชิงรุกเป็นสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดในระดับสูง (higher-order thinking) ไม่เพียงแต่ฟัง แต่ผู้เรียนจะต้องอ่าน เขียน ถามคำถาม อภิปรายร่วมกัน และลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความรู้เดิม และความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญโดยมีกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้เชิงรุก คือ การพูด-การฟัง(talking and listening) การเขียน (writing)  การอ่าน (reading) และการสะท้อนคิด (reflection)

























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น