บทที่1


บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญ
          จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้กรอบแนวคิดการจัดการศึกษาได้รับอิทธิพลจากบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกประเทศ ส่งผลให้สถาบันการศึกษาทั่วทั้งประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาคุณภาพของบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถเท่าทันกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้การปฏิรูปการศึกษาที่แตกต่างจากศตวรรษที่ผ่านมา ทักษะสำคัญที่ผู้เรียนต้องมี คือ ความสามารถในการปรับตัว ความสามรถในการสื่อสารชั้นสูง และทักษะทางการเข้าสังคม ทักษะการแก้ปัญหาที่ไม่เคยเผชิญมาก่อนความสามารถการบริหารจัดการตนเองและการพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพและการคิดอย่างเป็นระบบ ดังนั้นแนวทางการจัดการศึกษาจึงต้องปรับเปลี่ยนไปตามบริบทที่เปลี่ยนแปลง
การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากเป็นการเรียนรู้จากการให้ครูเป็นอาจารย์ผู้สอน เป็นการเน้นไปที่ผู้เรียนเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยเฉพาะให้การเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง อาจารย์ผู้สอนจึงต้องไม่เน้นที่การสอน (ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน) แต่เน้นออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เน้นการเป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้ มากกว่าเนื้อหาของรายวิชา ดังนั้นการเรียนรู้เชิงรุก Active learning จึงเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่นักวิชาการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีความสารมารถในการวิเคราะห์ และสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเองได้ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21
ดังนั้นผู้รับผิดชอบโครงการจึงมีความสนใจทำโครงการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด  Active learning เพื่อนำแนวคิด Active learning ไปจัดการเรียนรู้กับนักเรียน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด  Active learning และเพื่อเผยแพร่การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด  Active learning

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด  Active learning
2.เพื่อนำแนวคิด Active learning ไปจัดการเรียนรู้กับนักเรียน
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด  Active learning
4.เพื่อเผยแพร่การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด  Active learning

เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
-        นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3  โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 40 คน
-        นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ และพัฒนศาสตร์ จำนวน 56 คน
เชิงคุณภาพ
          การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning จะส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เกิดกระบวนการคิดในระดับสูง นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้อภิปรายความรู้ และมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ร่วมกัน  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning  และนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ และพัฒนศาสตร์ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning และสามารถสะท้อนกลับถึงความรู้และความเข้าใจดังกล่าวได้

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
          ระหว่างวันที่ 16 กันยายน 16 พฤศจิกายน  พ.. 2561


งบประมาณ

รายการ
จำนวน
ราคา
หมวดค่าตอบแทน
-
-
หมวดค่าใช้สอย
-
-
หมวดค่าวัสดุ
    -        ฟิวเจอร์บอร์ด
    -        กระดาษขนาด A4
    -        ปากกาเคมีสีดำ
    -        ดินสอกด

2 แผ่น แผ่นละ 45 บาท
60 แผ่น แผ่นละ 50 สตางค์
1 แท่ง แท่งละ  13 บาท
5 แท่ง แท่งละ 20 บาท


90 บาท
30 บาท
  13 บาท
 100 บาท
รวม
223 บาท


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้รับผิดชอบโครงการได้ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning และนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ไปจัดการเรียนการสอนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจ มีความสุข สนุกสนานไปกับการจัดการเรียนการสอน  และเป็นแนวทางให้แก่นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ และพัฒนศาสตร์ และผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และเป็นประโยชน์ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น