แนวทางจัดการเรียนรู้ของการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning

แนวทางจัดการเรียนรู้ของการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning
สุพรรณี ชาญประเสริฐ (2557:3-6) กล่าวว่า แนวทางจัดการเรียนรู้ของการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ควรออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยให้มีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ไม่เน้นการสอนแบบบรรยายที่ใช้เวลานานๆ หากเป็นการบรรยายควรมีกิจกรรมขั้นเป็นช่วงๆซึ่งกิจกรรมนั้นอาจมีความหลากหลาย เช่น การบันทึกอย่างมีโครงสร้าง การทำแผนภาพ ผังมโนทัศน์ การวาดรูป การยกตัวอย่าง การนำเสนองาน   การร่วมแสดงความคิดเห็นการสรุปความรู้ ด้วยการใช้ภาษาของตนเอง
2. ผู้สอนควรออกแบบหรือเลือกกิจกรรมที่มีความหลากหลายมีความเหมาะสม และที่สำคัญ กิจกรรมนั้นต้องให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน 2 ลักษณะ คือ การมีส่วนร่วมในการทำงานหรือลงมือปฏิบัติและการมีส่วนร่วมใน                การคิด (Bonwelle & Eison 1991) ซึ่งเป้าหมายของการทำกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนี้
                    1) ให้เกิดความคิดขั้นสูงหรือความคิดสร้างสรรค์
                    2) ให้มีการสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่างผู้เรียนในลักษณะต่างๆอาจจะจับเป็นคู่ จัดเป็นกลุ่มเล็ก หรือ กับเพื่อนในชั้นเรียน
                    3) มีการแสดงออกหรือถ่ายทอดความคิดเห็นผ่านการเขียน
                    4) มีการสำรวจเจตคติและคุณค่าเฉพาะบุคคล
                    5) มีบรรยากาศของการให้และรับรู้ข้อมูลย้อนกลับ
                    6) เปิดโอกาสให้มีการสะท้อนความคิดต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้
3. ผู้สอนควรให้ผู้เรียนมีอิสระในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมแต่ละขั้นตอนในเวลาที่พร้อมกัน เช่น ขณะที่ผู้เรียนกลุ่มหนึ่งกำลังดำเนินกิจกรรมตามใบงาน อีกกลุ่มหนึ่งอาจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ เอกสาร แต่อีกกลุ่มหนึ่งอาจดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน ดังนั้นผู้สอนต้องมีการออกแบบกิจกรรมหรือวิธีการดำเนนการเรียนรู้นอกเหนื่อจากบทเรียนปกติ
4. ผู้สอนควรแบ่งสัดส่วนเวลาส่วนใหญ่ในการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะ มีการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงลึก โดยใช้เวลาในการถ่ายทอดข้อมูลในส่วนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบผิวเผินในสัดส่วนที่น้อยกว่านอกจากนี้ผู้สอนจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ และแสดงออกถึงประสบการณ์ที่พวกเขาได้เรียนรู้ รวมทั้งมีโอกาสได้รับข้อมูลย้อนกลับทันทีจากเพื่อนหรือครูผู้สอน
5. รูปแบบของการทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่นิยมนำมาใช้ในห้องเรียนแบบ Active Learning
                    1) กิจกรรมเป็นรายบุคคล (individual activities)
                    2) กิจกรรมแบบจับคู่ (paired activities)
                    3) กิจกรรมกลุ่มย่อย (small group activities)
                    4) กิจกรรมแบบโครงสร้าง (project activities)
          การเลือกใช้กิจกรรมรูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม จำนวนผู้เรียน ระยะเวลาในการทำกิจกรรม ขนาดของห้องเรียน พื้นที่ในการทำกิจกรรม รวมทั้งทักษะความสามารถในการดำเนินกิจกรรมของผู้สอน สำหรับแนวทางการวัดและการประเมินควรเป็น Authentic assessment และ Alternative assessment แต่สิ่งที่ผู้สอนควรคำนึงถึงคือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะนี้จะใช้เวลามากขึ้น ดังนั้นควรมีการบริหารจัดการเวลาในชั้นเรียนให้คุ้มค่ามากที่สุด ผู้สอนต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนและการเตรียมความพร้อมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งนี้ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วย
          การจัดการเรียนรู้ประสบความสำเร็จได้ทั้งด้วยการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน จากจัดการเรียนรู้นั้นเกิดจากการลงมือปฏิบัติของนักเรียนทั้งรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม และสุดท้ายการจัดการเรียนรู้สำเร็จได้อาจมีการเปลี่ยนใช้หรือไม่ใช้แต่การจัดการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของทั้งผู้สอนและผู้เรียนในบทบาทที่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนค่อนข้างมีอิสระในการเรียนรู้ ดังนั้นในลำดับแรกผู้สอนต้องฝึกให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่
1. ทักษะการฟัง ต้องเป็นการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทักษะการอ่าน การดู การมอง และการสังเกต
3. ทักษะการพูด ต้องเป็นการพูดอย่างมีความหมาย
4. ทักษะการเขียน ต้องเป็นการเขียนอย่างมีความหมาย
5. ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ ต้องเป็นการทำงานที่มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตน

Shenker, Goss, and Bernstein (1996) ได้กล่าวถึงแนวทางจัดการเรียนรู้ของการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ดังนี้
1. ผู้สอนควรสื่อสารกับผู้เรียนให้ชัดเจนในเรื่องของการเรียนการสอน เนื่องจาก การเรียนรู้ เชิงรุกเป็นการขยายทักษะการคิดวิเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนความสามารถของ การประยุกต์เนื้อหาของผู้เรียน
2. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกควรส่งเสริมความรับผิดชอบในการค้นคว้า และส่งเสริมการเรียนรู้ นอกเวลาของผู้เรียน รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนค้นหาคําตอบ ด้วยตนเองมากขึ้น
3. การเรียนแบบบรรยายในชั้นเรียนอาจจะครอบคลุมเนื้อหามากกว่า แต่เมื่อผู้เรียนออกจาก ชั้นเรียน เนื้อหาที่มากจนไม่ชัดเจนจะทําให้ผู้เรียนลืม และไม่เข้าใจได้ ถึงแม้ว่าการเรียนรู้เชิงรุกจะใช้ เวลาสอนมากกว่า และเรียนรู้มโนทัศน์ได้น้อยกว่า แต่ผู้สอนสามารถปรับแก้ได้โดยสอนมโนทัศน์ที่ สําคัญ และสื่อสารอย่างชัดเจนกับผู้เรียนว่า ผู้เรียนต้องเรียนรู้บางมโนทัศน์ด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะทํา ได้ดี เพราะผู้เรียนมีความเข้าใจในมโนทัศน์ที่ได้เรียนรู้และสามารถนําไปใช้กับการเรียนมโนทัศน์ใหม่ ด้วยตนเองได้
4. ผู้สอนควรเลือกวิธี และกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียน และปรับวิธีการสอนเนื่องจากการ เรียนรู้เชิงรุกวิธีหนึ่งๆ ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดสําหรับผู้เรียนทุกคน ซึ่งการเรียนรู้เชิงรุก จะมีความยืดหยุ่น สูงเนื่องจากสามารถปรับวิธีสอนและเทคนิคการสอน ตลอดจนใช้กิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่ หลากหลาย ซึ่งทําได้มากกว่าการสอนแบบบรรยาย
5. ผู้สอนควรสอนจากเรื่องง่ายไปสู่เรื่องยาก และควรสอนจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปหาสิ่งที่อยู่ใกล ตัว โดยคํานึงถึงประสบการณ์เดิมและทักษะเดิมที่ผู้เรียนมีอยู่ การจัดกิจกรรมใหม่ควรให้ต่อเนื่อง กับกิจกรรมเดิม วิธีสอนและเทคนิคการสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

Center for Teaching Excellence, University of Kansas. 2000 : 1 - 3; Drake. 2000 : 1 - 3) ได้กล่าวถึงแนวทางจัดการเรียนรู้ของการเรียนรู้เชิงรุก Active Learningดังนี้      
1. ผู้สอนเป็นผู้ชี้นำผู้เรียนการเรียนเริ่มต้นจากความรู้เดิมของผู้เรียน ไม่ใช่ความรู้ของผู้สอน ผู้สอนมีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและกระตุ้นแรงจูงใจของผู้เรียน สนับสนุนและวินิจฉัยการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยต้องปฏิบัติต่อผู้เรียนอย่างให้เกียรติและเท่าเทียมกัน ให้การยอมรับและสนับสนุนความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมาย ผู้สอนเป็นผู้จัดหาจุดมุ่งหมายที่สำคัญให้แก่ผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างหรือเลือกจุดมุ่งหมายเพิ่มเติม
3. บรรยากาศในชั้นเรียนมีลักษณะเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน และสนับสนุน ช่วยเหลือกันอย่างต่อเนื่องผู้เรียนทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีและเคารพในภูมิหลัง สถานภาพ ความสนใจ และจุดมุ่งหมายของกันและกัน ผู้สอนจะใช้การสอนที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียน อภิปราย ทำงานกลุ่มและร่วมมือกันปฏิบัติงานอย่างกระตือรือร้น
4. กิจกรรมการสอนยึดปัญหาเป็นสำคัญ และแรงขับเคลื่อนในการเรียนรู้เกิดจากผู้เรียน การเรียนเริ่มจากปัญหาที่แท้จริงซึ่งเกี่ยวข้องกับจุดหมายและความสนใจของผู้เรียน ผู้เรียนมีความยืดหยุ่นในการเลือกปัญหา จัดระบบการปฏิบัติงานและตารางเวลาเพื่อความก้าวหน้าด้วยตนเอง ผู้สอนจะเริ่มสอนตั้งแต่ปัญหาง่ายๆเพื่อให้เกิดมโนทัศน์ รูปแบบของกิจกรรมต้องลดความซ้ำซ้อนของภาระงานที่ไม่จำเป็นให้อยู่ในระดับต่ำสุด ส่งเสริมและกำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
5. สนับสนุนให้มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผู้เรียนในด้านการประเมินผลนั้นควรทำการประเมินผลอย่างต่อเนื่องระหว่างการเรียนการสอนโดยเน้นที่การป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) การประเมินผลทั้งหมดควรอิงเกณฑ์ (Criterion - referenced) มากกว่าอิงกลุ่ม (Norm) และให้ครอบคลุมข้อเท็จจริง มโนทัศน์และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic) อย่างสม่ำเสมอ ผู้เรียนได้รับอนุญาตให้แก้ไขงาน ปรับปรุงงานใหม่หากการปฏิบัติงานนั้นไม่ได้มาตรฐาน โดยระดับผลการเรียน พิจารณาจากงานที่มีการปรับปรุงแก้ไขแล้วผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทในการช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ เกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จและความสามารถของตนเอง ให้คำแนะนำ โดยเน้นให้ผู้เรียนปรับปรุงงานให้ดีขึ้นมากกว่าระบุข้อผิดพลาดเพื่อกล่าวโทษ
6. การสอนพัฒนามากกว่าชี้นำ หรือ การนำเสนอการสอนเน้นที่ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ความรู้มากกว่าการจดจำและการทำซ้ำโดยให้ความสำคัญกับวิธีวิทยาศาสตร์ยอมรับคำตอบที่หลากหลายมากกว่าคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว เน้นการใช้เทคโนโลยี สื่อและวิธีการใหม่ๆ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนชี้นำตนเอง และมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานผู้เรียนเป็นผู้มีความกระตือรือร้น ในการเสริมสร้างความรู้ รวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลจากการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบและวิธีเรียนและช่วยผู้เรียนแก้ปัญหาด้านการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ผู้สอนจึงเป็นผู้แนะแนวทางไม่ใช่ผู้กำหนดขั้นตอนกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติตามทุกขั้น แต่ต้องเน้นและสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดเชิงวิเคราะห์ (metacognition) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น