วิธีสอนและเทคนิคการสอนของการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learnin

การเรียนรู้เชิงรุกเป็นวิธีการ (approach) ที่มีความหมายครอบคลุมวิธีสอน และเทคนิคการ สอนที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สอน และผู้เรียนเข้าสู่สถานการณ์การเรียนรู้เชิงรุกได้ โดยมุ่งไป ที่การให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่ง นักการศึกษาหลายท่าน ได้แก่Bonwell and Eison (1991); Meyers and Jones (1993); Shenker et al. (1996); Parkinson (1999); และมนัส บุญประกอบ และคณะ (2543) ได้กล่าวถึงการส่งเสริม ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เชิงรุกว่ามีวิธีสอนและเทคนิคการสอนโดยสรุป ดังนี้
วิธีสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
1. การอภิปรายกลุ่ม เป็นวิธีสอนที่จัดให้มีขึ้นด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนําข้อปัญหาและแง่คิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น หรือช่วยขบคิด เกี่ยวกับข้อปัญหานั้น เพื่อหาข้อสรุป โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการพูด และแสดงความคิดเห็นอย่างเท่า เทียมกัน โดยไม่มีการแยกผู้พูดและผู้ฟัง นับว่าเป็นวิธีที่ทําให้เกิดผลดีมาก เพราะเป็นการเริ่มจาก ความรู้พื้นฐานของนักเรียนไปสู่ประสบการณ์ใหม่ ช่วยพัฒนาเจตคติ ยกระดับความสนใจและการมี ส่วนร่วมของนักเรียนทุกคนจากการทํางานเป็นกลุ่มใช้กระบวนการที่นํานักเรียนให้คิด สื่อสาร และ แบ่งปันความรู้ในมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ต่อกัน อาจจําแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1.1 การอภิปรายกลุ่มย่อย เป็นการอภิปรายที่มีประสิทธิภาพที่สุดอย่างหนึ่งที่ สามารถใช้ได้กับการเรียนวิทยาศาสตร์ทุกบทเรียนในกรณีที่ต้องการให้มีการแสดงความคิดเห็นกัน อย่างทั่วถึง
1.2 การอภิปรายทั้งชั้นเรียน เป็นการอภิปรายที่มักมีผู้สอนเป็นผู้นําในการอภิปราย มักใช้เพื่อเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเริ่มแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการนําเข้าสู่ บทเรียนหรือสรุปบทเรียน
2. เกม หมายถึง กิจกรรมที่ใช้ผู้เล่นหนึ่งคนหรือมากกว่าเป็นการแข่งขันที่มีกฏเกณฑ์ ซึ่งจะ ช่วยให้นักเรียนสนุกสนาน ตื่นเต้น มีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทักษะการ แก้ปัญหา การสื่อสาร การฟัง การร่วมมือกัน โดยผู้สอนสามารถใช้เกมในการเสริมแรง ทบทวนสอน ข้อเท็จจริง ทักษะ และมโนทัศน์ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองทําให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน ผู้เรียนอ่อนและเก่งสามารถทํางานร่วมกันได้ดี ทําให้ผู้เรียนอ่อนเกิดกําลังใจในการเรียนมากขึ้น ทั้งอาจใช้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการได้อีกด้วย
3. การแสดงบทบาทสมมติ เป็นวิธีสอนที่ใช้เมื่อผู้สอนต้องการสํารวจความเข้าใจ ทัศนะ และ เจตคติ หรือต้องการให้ผู้เรียนรู้ชัดเจนว่าบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นรู้สึกอย่างไร และเพื่อเป็น การให้ข้อมูลสําหรับอภิปรายต่อไป โดยจัดให้มีการแสดงในสถานการณ์ที่คล้ายชีวิตจริง ผู้เรียนสวม บทบาทเป็นผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ สิ่งสําคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และค่านิยม คือ การอภิปรายหลังการแสดง นอกจากการเป็นผู้สังเกตการณ์แล้ว ผู้สอนจะเป็นผู้นํา อภิปราย ผู้กําหนดบทบาท ผู้ควบคุมเวลา และช่วยแก้ไขปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการแสดง บทบาทสมมติ โดยองค์ประกอบหลักของการแสดงบทบาทสมมติ จะประกอบด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประเด็นปัญหาที่จะทําความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเวลา และสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์
4. การแสดงละคร มีลักษณะคล้ายกับการแสดงบทบาทสมมติ กล่าวคือ เป็นวิธีการที่ผู้เรียน เป็นผู้แสดงบทบาทตามที่ได้รับ ทําให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องราวที่แสดง แต่ใช้เวลามากกว่า บทบาทสมมติ จึงเหมาะสําหรับใช้สอนในเนื้อหาที่ยาก
5. การใช้กรณีศึกษา เป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมเฉพาะ เรื่องหรือเฉพาะกรณี ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่สมมติขึ้นหรือเรื่องที่เป็นชีวิตจริงที่อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมักจะเกี่ยวกับปัญหาที่ผู้หนึ่งหรือหลายคนกําลังประสบอยู่ การใช้กรณีศึกษาจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ร่วมพิจารณา แสดงความรู้สึก เพื่อสรุปปัญหา แนวคิด และแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์ให้ ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหา และสภาพความเป็นจริงที่ลึกซึ้ง พัฒนาความคิดทักษะการแก้ปัญหา และการประยุกต์ความรู้เดิม สร้างความเชื่อมั่นว่าการตัดสินใจของตนมีความสําคัญและเชื่อถือได้ และสร้างแรงจูงใจที่จะเรียนสิ่งอื่นต่อไป
6. การสอนโดยใช้สถานการณ์จําลอง เป็นการสอนที่มีการเลียนแบบสภาพเหตุการณ์หรือ สมมติสถานการณ์ให้มีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง และสอดคล้องกับเนื้อหาใน บทเรียน จากนั้นเสนอเป็นกิจกรรมการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติ แสดงความคิดเห็น หรือตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาจากสถานการณ์นั้น ทําให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในสภาพที่ ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งวิธีการนี้จะทําให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเข้าใจในหลักการ ทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการต่างๆ ที่ไม่สามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้ ผู้เรียนมีความรู้สึกร่วมต่อ เหตุการณ์ได้ดี อีกทั้งยังสามารถถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงได้ต่อไป โดยผู้สอนต้องเตรียมอุปกรณ์ บัตรกําหนดบทบาท ตลอดจนกล่าวนําและอธิบายบทบาทของผู้เรียนให้เข้าใจตรงกัน

เทคนิคการสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active reading)
1. การอ่านที่กระตือรือร้น (active reading) เป็นวิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ ผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดีขึ้น ไม่ใช่การอ่านอย่างคร่าวๆ หรืออ่านไปเรื่อยๆ เหมือนกับการอ่านทั่วไป แต่เป็นการอ่านที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคําตอบหรือตั้งคําถาม โดยประมวลความคิดจากสิ่งที่อ่าน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนได้รับสาระจากการอ่านอย่างต่อเนื่อง ทั้งได้ใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์เรื่อง ที่อ่าน เป็นการอ่านเนื้อหาอย่างตั้งใจ และก่อให้เกิดความสนใจค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวผู้เรียนเอง โดย ใช้เทคนิคต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมผู้เรียนในการอ่านและทําความเข้าใจเนื้อหาได้ ดังนี้
1.1 การเน้นคํา (emphasizing) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเลือกคํา วลี ประโยค หรือ ข้อมูล ออกจากเนื้อหาที่กําหนด เพื่อกระตุ้นนักเรียนให้เห็นคําสําคัญ หรือมโนทัศน์ที่สําคัญ ซึ่งทําได้ หลายวิธี เช่น ขีดเส้นใต้ ระบายสี วงรอบข้อมูล เป็นต้น
1.2 การเว้นคํา (clozing) เป็นกิจกรรมเชิงคาดคะเน โดยลบคําสําคัญ (Keyword) ในเนื้อหาออกบางส่วน แล้วให้นักเรียนเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์ ผู้สอนอาจกําหนดคําสําหรับเติมหรือไม่ กําหนดก็ได้
1.3 การเรียงลําดับ (sequencing) เป็นกิจกรรมตัดแบ่งเนื้อหาความรู้ออกเป็นส่วนๆ สลับคละกัน แล้วให้ผู้เรียนจัดเรียงลําดับเชิงเหตุผลของเหตุการณ์ตามเนื้อหาให้ถูกต้อง
1.4 การระบุชื่อ (labeling) เป็นการให้ผู้เรียนตัดชิ้นส่วนของข้อความที่เตรียมให้ แล้วนําไปติดบนแผนภาพที่กําหนด เพื่อตรวจสอบความรู้ที่ถูกต้องในการค้นหาชื่อหรือคําที่เหมาะสม กับแผนภาพ และใช้แผนภาพเป็นเครื่องช่วยจําและแยกแยะเนื้อหา
1.5 การเขียนแผนภาพ (drawing diagrams) ให้ผู้เรียนเขียนแผนภาพหรือแผนภูมิ ลําดับความคิดจากเนื้อหาที่อ่าน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นภาพ ตรวจทาน และบันทึกความเข้าใจใน มโนทัศน์ที่กําหนดให้อ่าน
1.6 การอ่านเนื้อความแล้วตั้งคําถาม (devising question) ผู้สอนเตรียมเนื้อหาให้ ผู้เรียนอ่านแล้วตั้งคําถามแลกเปลี่ยนคําถามกัน เพื่อค้นหาคําตอบ หรืออภิปรายร่วมกัน
1.7 การผสมภาพหรือสัญลักษณ์กับคํา (pictogram) เป็นการเปลี่ยนคําหรือ พยัญชนะบางตัวของข้อมูลให้เป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์แทน ผู้เรียนทําความเข้าใจข้อมูลที่กําหนด จากการอ่านเรียงลํา ดับภาพสัญลักษณ์และคําต่างๆ คล้ายปริศนาภาพ เป็นกิจกรรมที่ทําให้ผู้เรียน สนุก กระตุ้นการอ่าน การเก็บข้อมูล และคัดเลือกข้อมูล
2. การเขียนที่กระตือรือร้น (active writing) เป็นวิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงออกเชิงความรู้ ความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมผู้เรียน ในการเขียนดังนี้
2.1 บันทึกประจําวัน (dairy) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนการเรียนรู้ ของตนเองอย่างอิสระ โดยสื่อสารแนวความคิดของตนเองด้วยการเขียน
2.2 รายงานในหนังสือพิมพ์ (newspaper reports) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเขียน สาระในรูปของบทความ บทสัมภาษณ์ สําหรับตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ หรือให้เลือกบทความจาก วารสาร หนังสือพิมพ์ เพื่อมาเขียนรายงาน ข้อเท็จจริง
2.3 การเขียนร้อยแก้ว โคลง กลอน (phrase and poet) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน สร้างสรรค์งานเขียนที่นําไปสู่มโนทัศน์ หรือการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง การบรรยายประสบการณ์หรือ ความรู้สึกของผู้เรียน การเขียนรายงานโครงการหรือรายงาน
2.4 บทละคร (drama) ผู้สอนอาจใช้เทคนิคการเขียนบทละครโดยใช้เนื้อหาทางการ เรียนเป็นหลักให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนความรู้ แนวคิด ความคิดเห็น หรือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2.5 การเขียนจดหมาย (etter) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสื่อสารสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยการเขียนจดหมายโต้ตอบกับผู้ใกล้ชิด เพื่อทบทวน พัฒนา และเสริมความเข้าใจในเรื่องที่เรียน
2.6 การนําเสนอ (presentation) เป็นการรายงานผลการค้นคว้าของผู้เรียนให้ผู้อื่น ทราบ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการทําโปสเตอร์ หรือแผ่นพับก็ได้
3. การทํางานกลุ่มเล็ก (Small group Work) เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนทํางานกลุ่มย่อยๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และพัฒนาทักษะการทํางานร่วมกับผู้อื่น วิธีนี้จะประสบผลสําเร็จเมื่อ นักเรียนมีเวลาสะท้อนความคิดในสิ่งที่เรียนหรือประสบการณ์ที่ได้รับ และเมื่อผู้สอนชี้จุดสําคัญของ กิจกรรม
4. การเรียนแบบร่วมมือ (Co-operative learning) เป็นเทคนิคที่ Kagan(1994) อ้างถึงใน (พิมพ์พรรณ เดชะคุปต์, 2544) ได้เสนอไว้ ซึ่งเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือดังกล่าวนี้ Kagan ได้เสนอ ไว้ 2 แบบ คือ การเรียนแบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ (formal co-operative learning) ซึ่งเป็น เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่ใช้เวลาตลอดคาบการเรียน หรือตลอดกิจกรรมการเรียนใน แต่ละคาบ และการเรียนแบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ (informal co-operative learning) ซึ่งไม่จําเป็นต้อง ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละคาบ อาจใช้ในขั้นนํา หรือสอดแทรกในขั้นสอนตอนใดๆ ก็ ได้ หรือใช้ในขั้นสรุป ขั้นทบทวน หรือขั้นวัดผล โดยเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ แบบไม่เป็น ทางการที่ Kagan พัฒนาขึ้นและเสนอให้มีสมาชิก 4 คนต่อกลุ่มซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสม มีดังนี้
4.1 การพูดเป็นคู่ (rally robin) เป็นเทคนิคที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนพูดตอบแสดง ความคิดเห็นเป็นคู่ๆ โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกที่เป็นคู่ได้พูดกัน เช่น กลุ่มมีสมาชิก 4 คน แบ่งเป็น 2 คู่ คู่หนึ่งประกอบด้วยสมาชิกคนที่ 1 และคนที่ 2 แต่ละคู่จะพูดพร้อมกันไป โดย 1 พูด 2 ฟัง จากนั้น 2 พูด 1 ฟัง ต่อมา 1 พูด 2 ฟัง เป็นต้น
4.2 การเขียนเป็นคู่ (rally table) เป็นเทคนิคที่คล้ายกับการพูดเป็นคู่ทุกประการ ต่างกันเพียงการเขียนเป็นคู่ เป็นการร่วมมือเป็นคู่ๆ โดยผลัดกันเขียนหรือวาด
4.3 การพูดรอบวง (round robin) เป็นเทคนิคที่สมาชิกของกลุ่มผลัดกันพูด ตอบ เล่า อธิบาย โดยไม่ใช้การเขียน การวาด และเป็นการพูดที่ผลัดกันทีละคนตามเวลาที่กําหนด จนครบ 4 คน
4.4 การเขียนรอบวง (round table) เป็นเทคนิคที่เหมือนกับการพูดรอบวง แตกต่างกันที่เน้นการเขียน การวาด วิธีการ คือ ผลัดกันเขียนลงในกระดาษที่เตรียมไว้ที่ละคนตาม เวลาที่กําหนด เทคนิคนี้อาจดัดแปลงให้สมาชิกทุกคนเขียนคําตอบ หรือบันทึกผลการคิดพร้อมๆ กัน ทั้ง 4 คน ต่างคนต่างเขียนในเวลาที่กําหนด เรียกเทคนิคนี้ว่า การเขียนพร้อมกันรอบวง (simultaneous round table)
4.5 การแก้ปัญหาด้วยการต่อภาพ (jigsaw problem solving) เป็นเทคนิคที่ สมาชิกแต่ละคนคิดคําตอบของตนเองไว้ จากนั้นกลุ่มนําคําตอบของทุกๆ คนมาร่วมอภิปรายเพื่อหา คําตอบที่ดีที่สุด
4.6 คิดเดี่ยว-คิดคู่ร่วมกันคิด (think-pair-share) เป็นเทคนิคโดยเริ่มจากปัญหา หรือโจทย์คําถาม โดยสมาชิกแต่ละคนคิดหาคําตอบด้วยตนเองก่อน แล้วนําคําตอบไปอภิปรายกับ เพื่อนเป็นคู่ จากนั้นจึงนําคําตอบของตนหรือของเพื่อนที่เป็นคู่เล่าให้เพื่อนๆ ฟัง
4.7 อภิปรายเป็นคู่ (pair discussion) เป็นเทคนิคที่เมื่อผู้สอนถาม คําถาม หรือ กําหนดโจทย์ แล้วให้สมาชิกร่วมกันคิดและอภิปรายเป็นคู่
4.8 อภิปรายเป็นทีม (team discussion) เป็นเทคนิคที่เมื่อผู้สอน ตั้งคําถาม แล้วให้ สมาชิกของกลุ่มทุกๆ คน ร่วมกันคิด พูด อภิปรายพร้อมกัน
4.9 ทําเป็นกลุ่ม-ทํา เป็นคู่-และทํา คนเดียว (team-pair-solo) เป็นเทคนิคที่เมื่อ ผู้สอนกําหนดปัญหาหรือโจทย์ หรืองานให้ทําแล้ว สมาชิกจะทํางานร่วมกันทั้งกลุ่ม จนทํางานได้ สําเร็จ แล้วจากนั้นจะแบ่งสมาชิกเป็นคู่ให้ทํางานร่วมกันเป็นคู่จนงานเสร็จ แล้วถึงขั้นสุดท้ายให้ สมาชิกแต่ละคนทํางานเดี่ยวจนสําเร็จ
4.10 การทําโครงงานเป็นกลุ่ม (team project) เป็นเทคนิคการเรียนด้วยวิธี โครงงาน โดยผู้สอนอาจจะกําหนดวิธีการทําโครงงาน ระบุบทบาทของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มให้ ร่วมกันทําโครงงานตามมอบหมาย หรืออาจใช้วิธีให้ผู้เรียนร่วมกันคิดทําโครงงาน
4.11 การหาข้อยุติ (showdown) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการทบทวนความรู้ วัดความรู้ ซึ่งอาจใช้ได้ในทุกขั้นตอนของการสอน
4.12 การให้ข้อมูลย้อนกลับแบบหมุนเวียน (rotating feedback) เป็นเทคนิคที่ สมาชิกทุกคนให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งอาจเป็นข้อคิด ข้อเสนอแนะ ข้อดี ข้อบกพร่อง ต่อผลงานเพื่อน โดยหมุนเวียนไปจนครบอย่างเป็นระบบ หรืออาจมีการกําหนดเวลาด้วยก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น