บทที่4


ผลการดำเนินการและวิเคราะห์ข้อมูล
         
การดำเนินโครงการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active learning โดยนำแนวคิดที่ได้หลังจากการศึกษามาจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา และศึกษาความพึงพอใจหลังการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active learning จากนั้นนำแนวคิดและผลการศึกษาความพึงพอใจที่ได้ไปเผยแพร่สู่นิสิต คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ ซึ่งจากการดำเนินงานได้ผลดังนี้               จากการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ Active Learning หมายถึง แนวการจัดการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานจากทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน สร้างองค์ความรู้ จัดระบบการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เกิดกระบวนการคิดในระดับสูง การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้อภิปรายความรู้ และมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยที่การเรียนรู้ตามแนวคิด Active learning ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ มากกว่าเนื้อหาของรายวิชา ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ และเข้าใจในเชิงลึก และทำให้นักเรียนเห็นประโยชน์จากสิ่งที่เรียน จากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการได้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเขียนแผนผังการเดินทางตามแนวคิด Active Leaning ไปทดลองสอนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา 


รูปการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

ตารางที่2 ตารางแสดงค่าร้อยละของระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/
หลังเข้าร่วมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active learning
รายการประเมิน
ระดับการประเมิน
มากที่สุด
(4)
มาก
(3)
ปานกลาง
(2)
น้อย
(1)
น้อยที่สุด
(0)
1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถกระตุ้นความสนใจในการเรียนเรื่อง การเขียนแผนผัง
48.75
37.04
11.11
-
3.7
2. นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
48.15
29.63
22.22
-
-
3. นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหา
เรื่อง การเขียนแผนผังมากขึ้น
48.15
37.04
14.81
-
-
4. นักเรียนมีการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
44.44
29.63
18.52
7.41
-
5. นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
59.26
14.81
14.81
3.7
7.41
6. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
44.44
29.63
25.93
-
-
7. นักเรียนได้นำความรู้ที่มีอยู่เดิมมาใช้ในการเรียนรู้ครั้งนี้
40.74
22.22
33.33
3.7
-
8. สื่อการเรียนรู้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนแผนผัง
48.15
40.74
11.11
-
-
9. ครูช่วยแนะแนวทางเมื่อนักเรียนมีข้อสงสัย
62.96
18.52
14.81
3.7
-
10. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่เรียนไปไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
51.85
29.63
18.52
-
-


กราฟแสดงระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 
ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด  Active Learning

     จากกราฟพบว่าความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีความพึงพอใจภาพรวมในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.5 มีความพึงพอใจในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 28.89 และมีความพึงพอใจในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 18.52 นอกจากนี้ยังสัมภาษณ์นักเรียนบางส่วนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผลการสัมภาษณ์ พบว่า


ก็รู้สึกชอบ เพราะในการเรียนการสอนครั้งนี้ เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก เวลาเรียนไม่เครียด เพราะมีให้เล่นเกม เพื่อเป็นการทบทวนไปในตัว


ก็ชอบค่ะ ตอนที่สอนมีการให้ตอบคำถาม เป็นการฝึกตอบคำถามไปในตัว มีความกล้าแสดงออกขึ้น เรื่องทิศก็สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ สมมติว่าเราเดินหลงป่า หรือ ไปค่ายลูกเสือ ก็สามารถใช้เรื่องทิศในการเดินไม่หลงทางได้

ชอบครับ ได้ทำงานกลุ่มกับเพื่อนๆ ขอบคุณครับ

      หลังจากที่ได้จัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning และศึกษาความพึงพอใจหลังการจัดกิจกรรมของนักเรียนแล้วไปเผยแพร่กับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ และให้นิสิตคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ได้สะท้อนความรู้ หลังจากที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  ซึ่งจากการดำเนินงานได้ผลดังนี้









รูปตัวอย่างในการสะท้อนความรู้ของนิสิตที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น