ความสำคัญของการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

สุพรรณี ชาญประเสริฐ (2557:3-6) กล่าวว่า ความสำคัญของ Active Learning มีดังนี้
1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดที่เป็นอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและ  คิดสร้างสรรค์เนื่องจากผู้เรียนมีโอกาสในการฝึกปฏิบัติและพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงมากขึ้น ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดทักษะเหล่านี้ผ่านกระบวนการกระตุ้นด้วยการใช้คำถาม เพื่อให้ผู้เรียนเกิด การคิดเคราะห์ สังเคราะห์หรือการประยุกต์นำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในโลกความจริง คั่นระหว่างการบรรยายหรือการมอบหมายงานเป็นรายบุคคล งานกลุ่มย่อย หรืองานที่มอบหมายให้ทำร่วมกันทั้งชั้นเรียน เช่น การมอบหมายให้ทำร่วมกันทั้งชั้นเรียน เช่น การมอบหมายให้แก้ปัญหาจากสถานการณ์หรือกรณีศึกษา นอกจากนี้การฝึกให้ผู้เรียนได้อภิปราย โต้แย้งก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยพัฒนาการคิดขั้นสูงและทักษะการให้เหตุผลอย่างมีตรรกะ ซึ่งครูทำได้โดยการมอบหมายให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นหรือทัศนคติได้หลายรูปแบบอาจจะเป็นการเขียนโดยใช้เวลาสั้นๆ 5- 10 นาที หรือเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นด้วยการจัดโต้วาทีระหว่างกลุ่มย่อยหรือแสดงทัศนคติร่วมกันทั้งชั้นเรียน ซึ่งครูสามรถเลือกใช้ได้มากกว่า 1 เทคนิค
          2. ส่งเสริมให้เกิดการทำงานแบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ที่ฝึกให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้เรียนผ่านการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและด้วยวิธีการที่ถูกต้อง จะช่วยให้เกิดทักษะการทำงานแบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาดเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาช่วงสั้นๆในการพูดคุย คิด  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือ เช่นกิจกรรมที่มีการอิปรายหรือลงมือปฏิบัติแบบกลุ่มย่อยหือกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนจับคู่ร่วมกันคิดคำตอบหรือแก้ปัญหาในเวลาสั้นๆ 1-5 นาทีถ้า         การบรรยายได้ใช้เทคนิคร่วมด้วยจะช่วยเพิ่มความจำความเข้าใจ เพิ่มทักษะการสื่อสาร การสร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมงาน แต่เทคนิคนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้มากขึ้นก็ต่อเมื่อมีการเฉลยคำตอบ ร่วมการวิเคราะห์ แสดงเหตุผลสนับสนุนคำตอบที่ถูกต้องและให้เหตุผลด้วยว่าเพราะเหตุใดคำตอบหรือการแก้ปัญหาจึงไม่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น