การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning


          สุพรรณี ชาญประเสริฐ (2557:3-6) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นอกจากครูจะจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับองค์ความรู้แล้ว ครูควรจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพดังนี้
          1. มีความรอบรู้ด้านเนื้อหา
          2. มีทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ ทักษะการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม ทักษะการรอบรู้ด้านสื่อและข้อมูลข่าวสาร
          3. มีความรอบรู้ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
          4. มีทักษะชีวิต เช่น การเป็นผู้นำ การกำกับและชี้นำตนเอง การกำกับและชี้นำตนเอง การรับผิดชอบต่อส่วนรวม
          ดังนั้นครูต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการเรียนรู้บริบทและบรรยากาศของชั้นเรียน และที่สำคัญคือการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมการเรียนรรู้ด้วยตัวเอง
          หลายท่านอาจสงสัยแล้วว่า Active Learning จะมีแนวทางการจัดการเรียนรู้ได้อย่างไร มีความสำคัญและจำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 Active Learning คือ การเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ ความสนใจและความกระตือรือร้นและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนมุ่งเน้นความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองในตัวผู้เรียนมากขึ้น
โดยผู้เรียนมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งการเรียนรู้นั้นจะไม่ใช่การฟังเพียงอย่างเดียว จะต้องเกิดการเรียนรู้ผ่านการอ่าน การเขียน การอภิปราย การแก้ปัญหาหรือการประยุกต์ใช้                 สู่สถานการณ์จริงร่วมกันด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุดทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมในงานที่ก่อให้เกิดทักษะการคิดขั้นสูง (Bonwelle & Eison 1991)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น